นางพญาเสือโคร่ง – Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S.Y. Sokolov

นางพญาเสือโคร่ง, Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S.Y. Sokolov

ต้นนางพญาเสือโคร่ง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง เปลือกต้นเรียบเป็นมัน สีเหลือบน้ำตาล เยื่อผิวบาง หลุดลอกง่าย ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียด พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้ของประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น โดยพบขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายก้านใบมีต่อมประมาณ 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงเป็นรูปคล้ายเขากวางหรือคล้ายเป็นริ้วเล็ก ๆ ใบร่วงได้ง่าย ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกนางพญาเสือโคร่งจะมีหลายเฉดสี ทั้งสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง สีแดง หรือสีขาว แต่ที่หาได้ยากที่สุดคือสีขาว ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อดอกได้รับการผสมจะติดเป็นผล ซึ่งจะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยผลจะเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน รูปกระสวย รูปไข่หรือกลม ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ผิวผลเกลี้ยง ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอร์รี่ มีรสเปรี้ยว

นางพญาเสือโคร่ง, Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S.Y. Sokolov

คุณสมบัติด้านสมุนไพรของนางพญาเสือโคร่ง

เปลือกและต้นของนางพญาเสือโคร่งมีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไอ ลดน้ำมูก รักษาอาการไข้ ตัวสั่น แก้อาการเลือดกำเดา และยังใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียได้ด้วย

สมุนไพรนางพญาเสือโคร่งบดผง

เปลือกและต้นของนางพญาเสือโคร่งคือส่วนที่สามารถนำมาบดเป็นสมุนไพรได้ โดยส่วนเปลือกนั้นจะบดได้ง่ายกว่า ส่วนต้นหรือเนื้อไม้ของนางพญาเสือโคร่งจะต้องมีการย่อยขนาดให้เล็กพอเหมาะที่จะนำไปใส่เครื่องบดสมุนไพร


ข้อควรระวัง

ผลของนางพญาเสือโคร่งจะมีรสเปรี้ยวและสามารถนำมารับประทานได้ แต่ไม่ควรทานมากเกินไปเพราะจะทำให้ท้องเสียได้

เครื่องบดสมุนไพร

error: Content is protected !!