ต้นทองกวาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 12-18 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา ลักษณะของการแตกกิ่งก้านจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนเปลือกต้นจะเป็นปุ่มปม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการใช้กิ่งปักชำ ใบทองกวาว ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร และขอบใบเรียบ ดอกทองกวาว ออกดอกเป็นช่อคล้ายกับดอกทองหลาง ดอกมีสีแดงส้มหรือแสด มีความยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะกันเป็นกลุ่ม เมื่อดอกบานจะมีกลีบ 5 กลีบ ผลทองกวาว ลักษณะของผลเป็นฝักแบน ฝักมีสีเขียวอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ ที่ฝักมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักโค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ส่วนด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก ในฝักมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
คุณสมบัติทางสมุนไพรของทองกวาว
สมุนไพรทองกวาวมีสรรพคุณช่วยในการบำรุงประสาท ช่วยถอนพิษไข้ ช่วยสมานแผล บำรุงรากฟัน ใช้รักษาอาการริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ และยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมย้อมผ้าได้ด้วย
สมุนไพรทองกวาวบดผง
ราก ดอก และแก่นจากต้นทองกวาวสามารถนำมาบดเป็นผงสมุนไพรได้ โดยรากและดอกจะต้องมีการนำไปอบร้อนไล่ความชื้นเสียก่อน ส่วนแก่นของทองกวาวจะต้องมีการย่อยขนาดให้ไม่เกินหัวนิ้วมือเพื่อให้บดเป็นผงได้ง่ายขึ้น
ข้อควรระวัง
ยังไม่พบข้อเสียจากการใช้สมุนไพรเทียนแดงที่เด่นชัดแต่อย่างใด